04 ปัจจัยที่มีผลต่อความหนาแน่นของประชากร



 ปัจจัยที่มีผลต่อความหนาแน่นของประชากร

               1. อัตราการเกิด (natality or birth rate) อัตราการเกิด (natality or birth rate) คือ จำนวนลูกที่เกิด/ตัวเมีย/ปี โดยอัตราการเกิดขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งมีชีวิต บางชนิดออกลูกครั้งเดียวตลอดชีวิต บางชนิดออกลูกปีละหลายครั้ง บางชนิดผลิตลูกตลอดเวลา เป็นต้น อัตราการเกิดของประชากรจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ
                              1. จำนวนตัวเมียที่อยู่ในระยะผลิตลูกได้ ปกติแล้วมีจำนวนน้อยกว่าจำนวนตัวเมียที่มีอยู่ทั้งหมด
                              2. ความสามารถในการผลิตลูกโดยเฉลี่ยของตัวเมีย (fecundity)
                              3. จำนวนลูกที่ผลิตขึ้นได้จริงโดยเฉลี่ย (fertility)

               2. อัตราการตาย (mortality or death rate) อัตราตายของประชากรสิ่งมีชีวิตในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ สามารถนำเสนอในรูปของกราฟแสดงปริมาณความอยู่รอด (survivorship curves) หรือในรูปของตารางชีวิตเพื่อช่วยแสดงจำนวนตายทั้งหมดที่มีในประชากร
 

 แมลงหลายชนิดมีอัตราตายสูงมากทำให้เหลือแมลงเพียงไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ที่สามารถเติบโตอย่างต่อเนื่องจนตัวเต็มวัย ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราตายมีทั้งจากปัจจัยที่มีและไม่มีชีวิต ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อระยะใดระยะหนึ่งในวงจรชีวิตหรือต่อหลายๆ ระยะก็ได้ เช่น ปริมาณน้ำฝน อาจมีผลกระทบทำให้มีอัตราการตายของเพลี้ยอ่อนทุกวัยในขณะที่แมลงเบียนบางชนิดเข้าทำลายหนอนผีเสื้อได้เพียงบางวัยหรือในบางระยะเท่านั้น อัตราการตายนี้ย่อมมีความผันแปรไปได้ตามกาลเวลาและสถานที่เช่นเดียวกับอัตราการเกิดนอกจากจะทราบว่าการตายทำให้จำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตลดลงแล้ว 
              นักนิเวศวิทยายังได้ศึกษาว่าอะไรเป็นสาเหตุของการตายในประชากร และแต่ละสาเหตุเกิดการตายมากน้อยเพียงใดด้วย สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการตาย คือ อายุขัยซึ่งเรา สามารถแบ่งอายุขัยของสิ่งมีชีวิตได้เป็น2 ประเภท ได้แก่
              I. อายุขัยทางนิเวศวิทยา (ecological longevity) เป็นอายุขัยโดยเฉลี่ยของแต่ละตัวของประชากรภายใต้สภาวะแวดล้อมอันใดอันหนึ่ง
              II. อายุขัยทางสรีรวิทยา (physiological longevity) เป็นอายุขัยโดยเฉลี่ยภายใต้สภาวะแวดล้อมเหมาะสม สิ่งมีชีวิตจะตายเมื่อหมดอายุขัย


ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของอัตราการตายแบ่งได้เป็น7 ปัจจัย คือ

              ความชราภาพ (aging) ความตายที่เกิดขึ้นจากความชราหรือหมดอายุขัย เรียกว่าเป็นความตายเนื่องจากผลทางสรีรวิทยา (physiological death)
              ความสามารถในการอยู่รอดต่ำ (low vitality) ความสามารถในการอยู่รอดนับเป็นคุณลักษณะ สำคัญทางพันธุกรรม ที่ช่วยให้สิ่งมีชีวิตสามารถต้านทานปัจจัยต่างๆ ของสภาวะแวดล้อมที่อาจมีผลกระทบต่อประชากร สิ่งมีชีวิตแต่ละตัวในประชากรย่อมมีขีดความสามารถที่แตกต่างกัน เป็นผลให้ขีดความสามารถในการอยู่รอดของประชากรโดยเฉลี่ยเปลี่ยนแปลงไปตามอัตราส่วนของขีดความสามารถของประชากรส่วนใหญ่ ปริมาณน้ำฝนอาจทำให้ประชากรแมลงจำนวนมากที่อ่อนแอไม่ชอบสภาพที่มีความชื้นสูงซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้เป็นลักษณะทางพันธุกรรม
              อุบัติเหตุ (accidents) อุบัติเหตุเป็นปัจจัยสุดวิสัยและไม่อาจคาดคะเนได้ที่เป็นสาเหตุให้เกิดการตายขึ้นได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นได้ทั้งเนื่องจากลักษณะทางสรีรวิทยา (เช่นลอกคราบออกมาไม่ได้ เหยียดปีกขยายออกไม่ได้) และทางนิเวศวิทยา(เช่น สัตว์เคี้ยวเอื้องเล็มกินใบพืชโดยมีแมลงติดอยู่จึงถูกกินเข้าไปด้วย) ลักษณะทางเคมีกายภาพ(physicochemical conditions) ลักษณะทั้งทางเคมีและทางกายภาพที่เกี่ยวกับอากาศ น้ำ และพื้นผิวที่ประชากรอยู่ สภาพอากาศที่แปรปรวนอย่างรุนแรงย่อมมีผลให้อัตราตายสูงขึ้น
              ศัตรูธรรมชาติ (natural enemies)
              ความขาดแคลนอาหาร (food shortage
              ขาดแหล่งคุ้มภัย(lack of shelter)

              3. การอพยพเข้าและการอพยพออก (immigration and emigration) โดยทั่วไปแล้ว การศึกษาความเปลี่ยนแปลงของประชากรจะไม่ใส่ใจกับปัจจัยนี้มากนัก เพราะถือว่ามีผลกระทบน้อยเนื่องจากมีการคาดว่าอัตราการอพยพเข้าและออกเท่ากันแต่ ก็มีการศึกษาเรื่องนี้บ้างจากประชากรของสิ่งมีชีวิตบนเกาะ
              การอพยพเข้า (immigration) เป็นการเคลื่อนย้ายของสิ่งมีชีวิตเข้าสู่สถานที่หนึ่ง เป็นผลให้ขนาดของประชากรในสถานที่นั้นเพิ่มขึ้น แต่ถ้าประชากรมีปริมาณที่มากเกินไปจนถึงจุดสูงสุดที่จะรองรับได้ (carrying capacity) ก็จะมีผลให้ผู้อพยพเข้าที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้อย่างรวดเร็ว มีอัตราการตายเพิ่มขึ้น
              การอพยพออก (emigration) เป็นการเคลื่อนย้ายประชากรสิ่งมีชีวิตจากสถานที่หนึ่งไปสู่สถานที่ใหม่เพื่อการอยู่รอดอาจจะเป็นการขาดอาหารเนื่องจากภัยธรรมชาติ ความแห้งแล้ง หรือมีปริมาณประชากรมากเกินไป ถ้าเกิดการอพยพอย่างต่อเนื่อง(ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้น)ได้ยากจะทำให้ขนาดของประชากรลดลงอย่างชัดเจน
              การอพยพช่วงสั้น(trivial or non-migratory) เป็นการเคลื่อนที่ไปในระยะทางสั้นๆ ใกล้กับแหล่งแพร่พันธุ์ เพื่อการหาอาหาร การผสมพันธุ์ หรือการวางไข่ นับเป็นกิจกรรมปกติที่เกิดขึ้น
              การอพยพช่วงยาว(migratory) เป็นการเคลื่อนที่โดยการบินอพยพเป็นระยะนับร้อยนับพันกิโลเมตร โดยมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาอาหาร แหล่งแพร่พันธุ์ หรือแหล่งวางไข่โดยตรง แต่เกิดจากความพร้อมใจและตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะอพยพของแมลงแต่ละตัวที่อยู่ภายในฝูงซึ่งอาจมีมากถึงหลายร้อยล้านตัว ในขณะที่มีการอพยพแมลงมีอัตราตายสูงมากเนื่องจากในระหว่างทางอาจไม่พบแหล่งอาหาร ถิ่นอาศัยชั่วคราว หรือแหล่งคุ้มภัยที่เหมาะสมสำหรับประชากรได้ทั้งหมด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น