05 การแพร่กระจายของประชากร


การแพร่กระจายของประชากร(population dispersal)  

              พบว่าประชากรมีการแพร่กระจาย 3 แบบ คือ  
                            การแพร่กระจายแบบสุ่ม (random spatial pattern) พบมากในประชากรที่อาศัยในธรรมชาติ โดยเฉพาะประชากรที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมือนกัน และไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงจึงไม่มีการแก่งแย่งแข่งขันระหว่างสมาชิกและไม่มีการรวมกลุ่มสมาชิก เช่น การแพร่กระจายของพืชที่มีเมล็ด ปลิวไปกับลม หรือสัตว์ที่กินผลไม้แล้วขับถ่ายทิ้งอุจจาระไว้ตามที่ต่างๆ และในอุจจาระนั้นมีเมล็ดพืชปะปนอยู่จึงงอกกระจายทั่วๆไป
                            การแพร่กระจายแบบรวมกลุ่ม (uniform spatial pattern) การกระจายแบบนี้เป็นรูปแบบการแพร่กระจายของประชากรที่พบในธรรมชาติมากที่สุด ส่วนใหญ่มักพบอยู่รวมกันด้วยเหตุผลพลายประการ เช่น สภาพแวดล้อมมีความแตกต่างของดินอุณหภูมิ ความชื้น ทำให้เกิดแหล่งที่อยู่อาศัยที่แตกต่าง เป็นสาเหตุให้สิ่งมีชีวิต มาอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เช่นไส้เดือนดินพบตามดินร่วนซุย และมีความชื้นสูง มีอินทรีวัตถุมาก หรือการสืบพันธ์ที่ทำให้สมาชิกในประชากรมาอยู่ร่วมกัน โดยเฉพาะตัวอ่อน ที่ยังอาศัยการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ เช่นสัตว์ที่อยู่ในกลุ่มครอบครัว เช่น ชะนี หรือรูปแบบพฤติกรรมที่อยู่เป็นกลุ่ม เช่น ฝูงนก ฝูงวัวควาย ฝูงปลา โขลงช้าง
 
                            การแพร่กระจายแบบสม่ำเสมอ (clumped spatial pattern) การแพร่แบบนี้มักพบในบริเวณที่มีปัจจัยทางกายภาพบางประการที่จำกัดในการเจริญเติบโต เช่น ความชื้น อุณหภูมิ และลักษณะของดิน เป็นต้น เช่น การแก่งแย่งน้ำเพื่อการเจริญเติบโตของกระบองเพชรยักษ์ ที่ขึ้นในทะเลทรายรัฐอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา การปลิวของผลยางไปตกห่างจากต้นแม่เพื่อเว้นระยะห่างของพื้นที่ในการเจริญเติบโต เพื่อหลีกเลี่ยงการแก่งแย่งความชื้นและแสง หรือการที่ต้นไม้บางชนิดมีรากที่ผลิตสารพิษ ซึ่งสามารถป้องกันการงอกของต้นกล้าให้เป็นบริเวณห่างรอบๆ ลำต้น นอกจากนี้พบว่าบางครั้งการแพร่กระจายแบบนี้อาจเกิดจากพฤติกรรมทางสังคมที่กำหนดให้มีอาณาเขตรอบๆ เพื่อหากิน สืบพันธุ์และสร้างรัง


2 ความคิดเห็น:

  1. การกระจายแบบสม่ำเสมอ คือ Uniform , การกระจายแบบกลุ่ม คือ Clumped ค่ะ พิมพ์สลับกันนะคะ

    ตอบลบ
  2. แล้วต้นกาฝากมะม่วงล่ะค่ะ

    ตอบลบ