09 การรอดชีวิตของประชากร


การรอดชีวิตของประชากร สามารถแสดงได้ในรูปของกราฟอัตราการรอดชีวิต (survivorship curves)
 โดยจำแนกเป็น 3 ลักษณะ
          ลักษณะแรก : มีอัตราการตายในช่วงต้นของอายุขัยน้อยมาก และเริ่มมีอัตราการตายสูงขึ้นในช่วงปลายของอายุขัยสามารถพบได้ทั่วไปในสัตว์ขนาดใหญ่ที่มีอายุยืนยาวนาน และมีอัตราการตายต่ำมากตลอดชั่วอายุขัย เช่น มนุษย์ ช้าง ม้า สุนัข
          ลักษณะที่สอง : อัตราการตายเกิดขึ้นตลอดเวลาในอัตราที่สูงในทุกช่วงอายุ (สิ่งมีชีวิตมีรูปแบบการรอดชีวิตเท่ากันทุกวัย)และหากอัตราการตายนั้นคงที่ กราฟที่ได้จะมีลักษณะคล้ายเส้นทะแยงมุม แต่ในความเป็นจริงของธรรมชาติ อาจกล่าวได้ว่าไม่มีสิ่งมีชีวิตชนิดใดที่มีอัตราการตายคงที่เลย แต่ เช่น ไฮดรา นก เต่า
          ลักษณะที่สาม : มีอัตราการตายในช่วงวัยต้นๆ ของอายุขัยสูงมาก และอัตราการตายลดลงเมื่ออายุขัยสูงขึ้นเช่น ปลา หอย และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
 
โครงสร้างอายุและอัตราส่วนเพศ(age structure and sex ratio)
           โครงสร้างอายุ(age structure) มีความเกี่ยวพันกับอัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากร เมื่อประชากรมีการเจริญเติบโตและเพิ่มอายุขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้เกิดสัดส่วนของกลุ่มอายุต่างๆ ของสมาชิกภายในกลุ่ม ซึ่งสามารถประเมินได้จากสถานภาพของการสืบพันธุ์ ณ ขณะนั้นของประชากร และช่วยพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นได้ในลักษณะกว้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น